วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

ออกกำลังด้วย การเดินตามทางรถไฟสายมรณะ กันเถอะ

ตอนก่อนเล่าถึงตอนรีบไปดูสะพานไม้ ก็มีรูปมากมาย ก็เลยแบ่งออกมาอีกตอนเป็นการแวะเที่ยวระหว่างทางจากในเมืองไปสังขละบุรี ที่พลาดไม่ได้คือทางรถไฟสายมรณะ 

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 สงครามแปซิฟิกเริ่มก่อตัวขึ้น กองทัพญี่ปุ่นบุกโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย และบุกเข้ามาเลเซีย ตอนกลางปี 2485 จากนั้นกองทัพญี่ปุ่นต่อสู้กับกองทัพอังกฤษในพม่า แต่เป้าหมายหลักคือรุกรานเข้าอินเดีย แต่ญี่ปุ่นรู้ดีว่าถ้าใช้เส้นทางเดินเรือ ขนอาวุธยุทโธปรณ์นั้น เสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางอากาศ จึงตัดสินใจสร้างทางรถไฟตัดผ่านประเทศไทย ที่ในขณะนั้นเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เริ่มต้น จากบ้านหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่าน จังหวัดกาญจนบุรีไปสู่ชายแดนไทยพม่าตรง“ด่านพระเจดีย์สามองค์”ไป เมืองตันบีอูซายัด ในพม่า โดยเริ่มแรกในการก่อสร้างนั้น ใช้แรงงานของกรรมกรชาวแขก พม่า มาเลเซีย อินโดนิเซีย จีน และคนไทย แต่ก็ต้องเจอปัญหามากมาย เช่น ฝนตกหนักจนสะพานพังลง โรคภัยไข้เจ็บของคนงาน การขาดอาหาร และฝ่ายพันธมิตรในสงคราม ทิ้งระเบิดใส่ แล้วกรรมกรเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงทางรถไฟก็ถูกทำลาย กองทัพญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนการทำงานใหม่ โดยการเกณฑ์แรงงานของเชลยศึกชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกัน ฮอลันดา และไอร์แลนด์ ประมาณ 50,000 คน และรวมกับกรรมกรอีกกว่า 275,000 คน มาทำการก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ซึ่งใน ส่วนหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ การสร้างในครั้งนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก การวางรางรถไฟดำเนินไปจนถึงจุดที่ต้องสร้างสะพานข้าม แม่น้ำแควใหญ่ จึงมีการสร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราว การสร้างเป็นไปอย่างเร่งรีบ ไม่มีวันหยุด ใช้เชลยศึกผลัดกัน ตลอด 24 ชั่วโมงและมีทหารควบคุม อย่างใกล้ชิด

กาแฟรสชาดดี บรรยากาศเยี่ยม

ถือโอกาสชาร์ทมือถือด้วย

 สะพานข้ามแม่น้ำแควชั่วคราวนี้ใช้ ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนจึงเสร็จ แล้วเริ่มสร้างสะพานถาวร (ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน) โดยที่เชลยศึกจะต้องยืนในน้ำ เป็นเวลานานๆ ทำให้เจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก โดยสะพานข้ามแม่น้ำแควนี้ ทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง มีความยาว 300 เมตร เมื่อสร้างสะพาน ถาวรเสร็จ จึงมีการรื้อถอนสะพานชั่วคราวออก ในระหว่างที่ก่อสร้าง ถูกสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดโจมตีอยู่หลายครั้ง จนต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์ไป 21,399 คน สาเหตุที่ทำให้คนตายเยอะขนาดนี้ เห็นจะมาจากการขาดแคลนอาหารที่เชลยจะได้กินเพียงข้าวกับปลาแห้งเพียงเล็กน้อย แพทย์ก็ไม่ พอเพียง และยังได้รับการปฏิบัติอย่างป่าเถื่อนโหดร้ายจากผู้คุมเชลยศึกและผู้ควบคุมทางรถไฟ จนกระทั่งก่อสร้างเสร็จใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด 17 เดือน ซึ่งต่อมาเรียกสะพานนี้ว่า "สะพานข้ามแม่น้ำแคว" สร้างความยินดีให้กับทหารญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องสูญเสียชีวิตคนไปเป็นจำนวนมากใน การสร้างสายรถไฟประวัติศาสตร์สายนี้ จนเรียกกันว่า "ทางรถไฟสายมรณะ" ที่ต่างเปรียบเทียบชีวิตคนที่เสียชีวิต จากการสร้างว่า "หนึ่งหมอนรถไฟต่อหนึ่งชีวิต"
ส่งข้อมูลอัพเดทนิดหนึ่ง
 ทางรถไฟที่สร้างลำบากที่สุดตอนหนึ่ง คือ บริเวณสะพานถ้ำกระแซ การก่อสร้างทางรถไฟ ในช่วงนี้ มีเทือกเขาสูงชันติดกับลำน้ำแควน้อย วิศวกรญี่ปุ่น จำเป็นต้องสร้างเลียบลำน้ำทางรถไฟจะลัดเลาะ ไปตามภูเขายาว 400 เมตร ซึ่งเป็นช่วงที่เชลยศึกต้องเสียชีวิตมากที่สุด ประมาณ 1,000 กว่าคน เป็นสะพานที่ข้ามเหวลึกที่ยาวที่สุดของเส้นทางรถไฟสายนี้ สร้างเสร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก นักโทษเชลยศึกสงครามได้ทำงานกันอย่างบ้าคลั่ง จากคำสั่งของผู้คุมนักโทษชาวญี่ปุ่น ที่รู้จักดีในคำที่เรียกว่า "สปีดโด" (Speedo) หรือ "ทำไปอย่าหยุด" จากเดือนเมษายน 2486 การก่อสร้างดำเนิน การรุดหน้าไปเร็วมาก เนื่องด้วยฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้การก่อสร้างแล้วเสร็จตามความคาดหมายคือเดือนสิงหาคม ซึ่งถูกกำหนดเป็นเส้นตายของ การก่อสร้าง ห้วงเวลาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่รู้จักกันในนามของห้วงเวลาแห่งความเร่งด่วน (Speedo) เชลยศึกและคนงานชาวเอเชียถูกลงโทษ ให้ทำงานจนค่ำ ที่บริเวณซึ่งทำการตัดช่องเขาขาดนั้น แสงแวบๆ จากกองไฟส่องกระทบเรือนร่าง ที่ผอมโซของคนงาน จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องไฟนรก” (Hellfire Pass) หรือ “ช่องเขาขาด”
หมูเฝ้าถังขยะ
 การก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ เริ่มสถานีจากหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี ผ่านเข้าไปยังจังหวัดกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ไปทางทิศตะวันตก ผ่านเจดีย์สามองค์ จนถึงปลายทางที่ เมืองตันบีอุซายัต ประเทศพม่า โดยมีระยะทางยาวประมาณ 415 กิโลเมตร 37 สถานี สร้างเสร็จในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2486 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สถานีรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นจาก สถานีท้องช้าง, ถ้ำผี, หินตก, แคนนิว, ไทรโยค, กิ่งไทรโยค, ริ่นถิ่น, กุย, หินดาด, ปรางกาสี, ท่าขนุน, น้ำโจนใหญ่, ท่ามะยอ, ตำรองผาโท้, บ้านเกรียงไกร, คุริคอนตะ, กองกุยตะ, ทิมองตะ, นิเกะ, ซองกาเลีย, และด่านเจดีย์สามองค์ เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม กองทหารอังกฤษจึงได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟ ในเขตพม่า ออก 30 กิโลเมตร และรื้อทางรถไฟในเขตประเทศไทยออก 6 กิโลเมตร ทำให้ทางรถไฟสาย นี้หมดสภาพการใช้งานต่อไป โดยต่อมารัฐบาลไทยได้ ขอซื้อทางรถไฟสายนี้ และวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในราคา 1,250,000 ปอนด์ หรือ 50 ล้านบาท แล้วบูรณะจนสามารถเดินรถได้ และได้ทำการรื้อราง ออกไปบางส่วน คือ บริเวณรอยต่อชายแดนไทยพม่า ซึ่งรัฐบาลไทยสามารถบูรณะซ่อมแซม ทางรถไฟจนถึงสถานีน้ำตกเท่านั้น เพราะเส้นทางที่เหลือ รัฐบาลไทยไม่มีงบประมาณเพียงพอ ที่จะทำการซ่อมแซม ทำให้เส้นทางที่เหลือต้องทรุดโทรมอย่างหนัก จนปัจจุบันทางรถไฟที่เหลือก็กลายเป็น ป่าปกคลุมตลอดทาง

แจกันประดับโต๊ะหรืออะไรกันแน่
กินอีกแล้วทัวร์นี้


จัดร้านได้น่าดูร่มรื่นเย็นทั้งที่รอบๆร้อนและแห้งแล้ง

หนทางยังยาวไกลไปต่อดีกว่าครับ




แหล่งเที่ยวเยอะจริงเมืองกาจนบุรีมาวันสองวันไม่ทั่วแน่ครับ


 ไชโยเดินทางถึงทางรถไฟเรียบลำน้ำแควแล้วไปเดินข้ามด้วยกันรถไฟยังไม่มาหรอกครับ ร้อนหน่อยแต่เพื่อครั้งหนึ่งในชีวิตเอาหน่อย

ทดสอบเชลฟี่กันหน่อย 

ก็สบายๆผมไม่ได้หวาดเสียวอะไร 
 แต่ทึ่งในความพยายามของผู้สร้าง
มีคนหัวการค้านำเครื่องเล่นแบบต่างมาให้เล่นทั้งในน้ำบนบก


ก้มหน้าก้มตาเดิน
น่าหวาดเสียวบางช่วง

แพสวยงามเอาชะหน่อย
พอเดินมาถึงสถานีมีคนเยอะแยะแย่งเข้าคิวรับอาหารปุพเฟ่หัวละสองร้อยห้าสิบ แพงดีจัง
พอทราบราคาหายหิวไปเลย





ในที่สุดก็เดินมาจนถึงสถานีอีกฝั่งหนึ่งของหน้าผา
ไกลน่าดูสวยงาม ร้อนแดดมาก แต่พอมีลมเย็นๆพัดมาพอบรรเทา

ถึงถ้ำกระแช เข้าไปไหว้พระ คนเยอะเหม็นกลิ่นธูปมากๆเลยต้องรีบไหว้แล้วออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ข้างปากถ้ำ


นั่งพักพอหายเหนื่อยก็กลับไม่รอรถไฟมาแล้วอีกตั้งชั่วโมงเสียเวลาเกินไป
อีกมุมหน้าร้านอาหาร
หน้าถ้ำกระแช มองย้อนไปทางที่เราเดินมา
ไหว้พระ
หายใจไม่ถนัด

ต้องออกมาพักรับอากาศดีๆ



จากในถ้ำมองย้อน เห็นทางรถไฟลอยผ่านไป

เดินกลับงานนี้ออกกำลังจริงๆเผาผลาญแคลอรี่ได้เยอะ
อุปกรณ์ทางรถไฟ
มางวดหน้ามานอนรีสอร์ทน่าจะสบายดี

จะได้เล่นน้ำให้สนุก

ลาแล้วนะถ้ำกระแช
ไปต่อที่ไหนดี
เห็นป้ายบอกทองผาภูมิ93 และสังขละบุรี142 เมื่อไหร่จะถึง

กองทัพเดินด้วยท้อง 
มองหาอะไร
ไก่ย่างละสิได้เลย
มองป้ายนะครับเราแวะกลางวันที่น้ำตกไทรโยคน้อย
7799จะนำเราไปสู่จุดหมาย
ไม่แวะเที่ยวก้อแวะเข้าห้องน้ำ
ที่นี่สะอาดสะอ้านมากครับ

ทีแรกตั้งใจจะเดินลงไปเที่ยวดูทางรถไฟที่ฆ่าเชลยไปมากมาย เห็นน้อยวัยรุ่นสองคนเดินกลับขึ้นมาท่าทางเหน็ดเหนื่อยมาก วัยรุ่นยังขนาดนี้ เลยยกเลิกความตั้งใจนั้น
ทำทีท่าว่าไปมาแล้วก็พอ อิๆๆ

เข้าชมภาพเก่าๆย้อนความโหดร้ายในอดีตของสงครามโลก

ในโณงหนังมินิ
มีหนังสั้นๆการสร้างทางรถไฟให้ดู
ดูแล้วเศร้า
การดูแลรักษาพื้นที่ทำได้ดีมากครับ
มีฝรั่งมาดูก่อนหน้าท่าทางเศร้ามากๆ
ไปต่อครับกลัวจะค่ำเสียก่อนถึงสังขละบุรี
และต่อไปนี้เป็นเส้นทางยาวไกลผ่านภูเขา มีภาพระหว่างทางมาให้ชมพอสังเขปครับ









เริ่มเห็นน้ำจากเขื่อนที่ท่วมเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่




ถึงแล้วสังขละบุรี
ถึงที่พักแล้ว


ดีใจกันใหญ่จะได้พักแล้ว
พักไม่นานก็ออกมาดูยามเย็นบนสะพานมอญ
นักท่องเที่ยวมากมาย
ต่างแยกย้ายหามุมถ่ายภาพสวยๆ
เอาไปอวดคนที่ไม่ได้มาได้ชื่นชมไปด้วย
เรือนแพ เรือรับจ้าง กับสะพานเก่าที่พังขาดไปครึ่งหนึ่ง

มีเหนื่อยบ้างแต่ สนุกดี
ร่องรอยเครื่องบินไอพ่น
เห็นเป็นทางสายขาวพาดผ่านท้องฟ้า
แอบมีภาพสาวน้อยวัยรุ่นเป็นข้างหลังฉาก ดูดี
ข้างหลังเป็นฝั่งเมืองด้านหน้าเป็นฝั่งมอญครับ
 คนเยอะวัยรุ่นแยะ
มีภาพตนเองบ้าง

สูงมากๆ
กินอิ่มแปล้  อาหารทุกอย่างเกลิ้ยงไม่น่าเชื่อ

บ้านวานิตา ของนายตำรวจที่มาตั้งรกรากทำธุรกิจที่นี่ เห็นว่ามาจากนครปฐม

ห้องพักค่ำคืนนี้สีเหลือง




แล้วพบกันในตอนต่อไปนะครับนครบาดาล กับด่านเจดีย์สามองค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น